เสาเสมา

เสาสีมา หลักเขตประกาศแดนพุทธจักร

แชร์ให้เพื่อนเลย

อาณาจักร พุทธจักร

หลายๆชนชาติในโลก ที่ไม่สามารถตั้งประเทศได้ ก็เป็นเพียงชนกลุ่มน้อยกระจายอยู่ในประเทศอื่น
ชนชาติใด มีดินแดน มีอาณาเขต มีนานาชาติรับรอง ก็มีประเทศเป็นของตนเอง เป็นอาณาจักรของชนชาตินั้นๆ

พระพุทธศาสนา..
มีพุทธบริษัท ๔ ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก
มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
มีวัดเป็นดินแดน เพื่อทำศาสนกิจ
พระพุทธศาสนาจึงจะดำรงคงอยู่
พุทธบริษัท ๔ และวัดจึงได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ได้
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดพุทธจักร

พ่อขุนรามคำแหง
ภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย ผู้พัฒนาอักษรไทยเป็นนักปกครองประเทศด้วยหลักธรรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

พระพุทธศาสนามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย
พ่อขุนรามคำแหง ทรงอาราธนาพระมหาเถระชาวลังกาจากนครศรีธรรมราช
พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ในดงตาล คือสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงตั้งขึ้นมาเพื่อนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาแสดงธรรมต่อประชาชนทุกวันพระ
ไตรภูมิพระร่วง ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือพระราชนิพนธ์โดยพระธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ที่กล่าวถึงนรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) กัป กลียุค วาระสุดท้ายของโลก พระศรีอริยเมตไตรย์ พระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ
มีคำปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒
“คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่ออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่ง จึงเมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ยมีพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพานกฐินอวยทาน แล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น”
แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงรักษาแบบแผนดั้งเดิม
ที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกตั้งแต่โบราณกาล 

หลักศิลาจารึกสุโขทัย
ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ภาพหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักฐานในการจารึกเหตุการณ์ประวัติศาตร์ยุคสุโขทัย

วิสุงคามสีมา คือแผ่นดินที่อาณาจักรประกาศให้เป็นเขตพุทธจักร

วิสุงคามสีมา แปลว่า เขตแดนส่วนหนึ่งจากแดนบ้าน
คือที่ดินที่อาณาจักรยกให้พุทธจักร แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง
ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็นการเฉพาะ
เพื่อใช้สร้างอุโบสถ
ที่ที่พระราชทานแล้วจะมีเครื่องหมายเป็นเครื่องบอกเขต เครื่องหมายนี้เรียกว่า นิมิต
คุณครูไม่เล็กกล่าวว่า
“โบสถ์เป็นเหมือนจำลองเอาอายตนนิพพานมาไว้บนพื้นมนุษย์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรมกัน
ด้วยความรู้สึกเหมือนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

สถาปนาโบสถ์พระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย
พิธีสถาปนาอุโบสถพระไตรปิฎกแรกของโลก ประดิษฐานลูกนิมิตและผูกสีมา
วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ อุโบสถ วัดพระธรรมกาย

เสาสีมา หลักเขตประกาศแดนพุทธจักร

ลูกนิมิตคือ ลูกหินกลม ฝังลงในดิน เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์
แต่เนื่องจากฝังอยู่ในดิน จึงไม่รู้ว่าเขตโบสถ์อยู่ตรงไหน
เสาสีมาจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประกาศอาณาเขตของพุทธจักร
ซึ่งอาณาเขตของโบสถ์ เป็นเงื่อนไขความสมบูรณ์ในการทำสังฆกรรมหลายอย่างตามพระวินัย
ก็ด้วยอาณาเขตนี้ จึงสามารถบวชพระได้
“ในพระวินัย กำหนดว่าพระต้องบวชในโบสถ์ บวชนอกโบสถ์ไม่ได้
คุณครูไม่เล็กเคยฝากข้อคิดไว้ว่า
โบสถ์จึงเหมือนกับเป็นที่ยกระดับจิตใจของคน
คือยกระดับจากคนธรรมดาให้เป็นพระ
ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย”
ก็ด้วยอานาเขตนี้ พระจึงมีที่ทำสังฆกรรม
สวดปาฏิโมกข์ ลงอุโบสถทุกวันพระ ปวารณาออกพรรษา หรือกรานกฐิน
ก็ด้วยอานาเขตวิสุงคามสีมานี้ ทำให้วัดเป็นวัดโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย
เสาสีมา จึงเป็นหลักเขตประกาศแดนพุทธจักร และทำให้วัดและพระพุทธศาสนามั่นคง

เสาเสมา
ภาพเสาสีมาบรมจักรพรรดิรัตนอนันต์น  จะนำไปทำพิธีประดิษฐ  ประจำทั้งสี่ทิศ  ณ อุโบสถพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย  ในวันธรรมชัย วันอังคารที่ ๒๗ สิหงหาคม ๒๕๖๒

โบสถ์พระไตรปิฎก ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย

โบสถ์พระไตรปิฎก โบสถ์ของวัดพระธรรมกาย
เป็นฐานที่มั่นใช้เผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก
ใช้บวชและเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของพระผู้มีเป้าหมายเพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม
เช่นเดียวกับมโนปณิธานของพระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่สด จนฺทสโร)
โบสถ์วัดพระธรรมกายสร้างขึ้นมา เดิมทีตั้งใจว่าจะรองรับพระสงฆ์เพียง ๒๑ รูป
แต่เมื่อวิชชาธรรมกายขยายไปทั่วโลก
วัดมีพระจำพรรษากว่า ๑,๐๐๐ รูป
พระส่วนหนึ่งต้องทำสังฆกรรมกลางแดดฝน
โบสถ์พระไตรปิฎกจึงต้องถือกำเนิดขึ้นมา
๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๒ วันธรรมชัย
วันแห่งการประกาศชัยชนะ ของผู้ชนะโดยธรรม
มาร่วมกันสถาปนาเสาสีมา
มาประกาศเขตแดนพุทธจักรแห่งวัดพระธรรมกายกันนะครับ

พิธีสถาปนาโบสถ์พระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย
พิธีสถาปนาโบสถ์พระไตรปิฎกแห่งแรกของโลก วัดพระธรรมกาย
กิจกรรมสังฆกรรมในโบสถ์
ภาพกิจกรรมของคณะสงฆ์ในพระอุโบสถ
คณะสงฆ์นั่งทำพิธีกรรม บริเวณรอบพระอุโบสถ์

ที่มาภาพและเนื้อหา

คิดอย่างไรกับเรื่องนี้