การแบ่งปัน

New Normal : การให้ที่ยิ่งใหญ่ในวิกฤตการโควิด ๑๙

แชร์ให้เพื่อนเลย

สถานการณ์โควิด ๑๙ หลายประเทศทั่วโลก ต้องปิดเมือง ปิดโรงงาน บางบริษัทต้องปิดกิจการ

คนตกงาน ขาดรายได้

กระทบถึงอุตสาหกรรมอาหาร

ที่ผลิตได้น้อยลง แต่ความต้องการมากขึ้น

ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่คนรายได้น้อยลง

ตั๊กแตนหลายแสนล้านตัวระบาดหนัก กัดกินทำลายเทือกสวนไร่นาในทวีปแอฟริกา อินเดีย ปากีสถาน

ที่เคนย่า ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบ ๗๐ ปี

จนองค์การสหประชาชาติต้องออกมาเตือนว่า

“โลกอาจเผชิญกับวิกฤตการขาดแคลนอาหาร มันคือวิกฤตแห่งมวลมนุษยชาติ”

โควิด ๑๙ ไม่ใช่วิกฤตการเดียวที่โลกเผชิญอยู่ในขณะนี้

New normal ยุคโตวิด ๑๙ ประชาชนทั่วโลกเมื่อออกนอกบ้านทุกครั้งต้องใส่แมส

วัฒนธรรมการให้ในประเทศไทย

การตักบาตรพระ

การเปิดโรงทาน

การทอดกฐินทอดผ้าป่า

การไปทำบุญที่วัด

การบริจาค สงเคราะห์คนชรา คนพิการ เด็กกำพร้า

เป็นวัฒนธรรมการให้ของวัฒนธรรมชาวพุทธ

ที่คนไทยคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก

จริงอยู่ ประเทศไทยมีคนจน

แต่คนจนต้องอดตาย.. แทบไม่มีให้เห็น

อย่างน้อยก็ยังมีข้าวก้นบาตร มีน้ำใจจุนเจือจากผู้อื่น

แม้ในยามยากลำบาก ช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด ๑๙ ระบาด

ในประเทศไทย

มีกระแสประชาชนช่วยกันบริจาคหน้ากาก ชุดกันเชื้อ PPE และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้บุคลากรสาธารณะสุข เป็นทัพหน้ารับมือกับเชื้อโควิด ๑๙ ได้อย่างเต็มที่

โควิด19
วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ยุคโควิด๑๙

ภาพประกอบ[บางส่วน]ที่มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้สาธารณสุขในพื้นที่ คลองหลวง และ พื้นที่อื่น ๆ
มีโครงการตู้ปันสุข ตู้แบ่งปันของกินของใช้ กระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ภาพประกอบจากแฟ้มข่าวPPTVHD36 “ตู้ปันสุข”
ภาพกิจกรรมช่วยเหลือจากคณะสงฆ์ช่วงได้รับผลกระทบจากโควิด๑๙

หลายคนเย็บหน้ากากผ้าแจกจ่ายกัน

บ้างก็ระดมทุนแจกถุงยังชีพ แจกข้าวกล่อง แจกเงินเยียวยาผู้ขาดรายได้

วัดเปิดโรงทานให้ผู้คนได้อิ่มท้อง

วัดพระธรรมกายก็เปิดโรงทาน บริจาคหน้ากากผ้า เจลล้างมือให้วัดต่างๆและโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์

ภาพจากแฟ้มข่าวเพจพระครูสนิทวงศ์ : การมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์

ถึงแม้แต่ละคนไม่ได้มีเหลือเฟือ ต่างก็จุนเจือสิ่งที่ตนมีให้คนที่ต้องการกว่า

ช่วยกันประคับประคอง ให้คนที่ไม่มีได้มีแรงสู้ต่อไป

เป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทย ให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี

การแบ่งปันในต่างประเทศ

ประเทศจีนได้สร้าง “เส้นทางสายไหมด้านสาธารณสุข”

มอบเครื่องช่วยหายใจ ๑,๐๐๐ เครื่องให้รัฐนิวยอร์ก

ส่งแพทย์ เวชภัณฑ์กว่า ๓๑ ตัน ไปยังประเทศอิตาลี

ส่งเวชภัณฑ์และหน้ากาก ๘ เที่ยวบินไปยังประเทศอิหร่าน

ส่งเวชภัณฑ์มาช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศต่างๆอีกจำนวนมหาศาล

ในขณะที่ประเทศรัสเซียส่งแพทย์ หน้ากาก อุปกรณ์ทางการแพทย์ ๖๐ ตัน ไปช่วยประเทศอเมริกา

ส่งนายแพทย์พร้อมเวชภัณฑ์ ๙ เที่ยวบินไปยังประเทศอิตาลี

ได้เห็นภาพประเทศมหาอำนาจ ที่เคยเป็นคู่ขัดแย้ง ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาจนำมาซึ่งมิตรภาพ

ให้ช่วงทุพภิกขภัย ..เป็นกาลทาน

การให้ในห้วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้

เป็นการให้ที่ทำได้ยาก

เป็นการให้ในยามที่ผู้รับต้องการ

เป็นเรื่องดีๆในเรื่องร้ายๆ

ภาพประกอบ : สังคมการให้ ; การอยู่ร่วมกันในยุคโควิด

 

หลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่เคยบอกว่า

“โลกอยู่ได้ด้วยการให้”

“การให้เป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่

เป็นความสุขอันวิเศษ

เราจะรู้จักความสุขชนิดนี้ได้ต่อเมื่อเราได้ให้

คนอื่นให้ เราไม่รู้หรอกว่าเขามีความสุขแค่ไหน

เหมือนดวงตะวันที่แบ่งปันสีทองไปยังก้อนเมฆ ภูเขา ต้นไม้ ท้องทะเล คนสัตว์สิ่งของ ให้กลายเป็นสีทองไปด้วย”

พระบรมศาสดาทรงยกย่องการให้ในยามทุพภิกขภัย ว่าเป็นทุพภิกขทาน 

เป็นกาลทานอย่างหนึ่ง ทรงสรรเสริญว่า ได้บุญมาก

 

หลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่ท่านได้กล่าวถึงหลักวิชชาในการทำทานไว้ในโอวาทครั้งหนึ่งว่า

“ก่อนทำ ใจต้องผ่องใส กำลังทำต้องปลื้มใจว่าเราตัดสินใจถูกต้องแล้ว ปีติใจที่เราเอาชนะความตระหนี่ได้ และเห็นประโยชน์ในการสร้างมหาทานบารมีนี้

ทำไปแล้วนึกย้อนหลังทีไรก็ปลื้มทุกทีว่าเราตัดสินใจถูกแล้ว

ทรัพย์นี้ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ประโยชน์ในปัจจุบันก็คือ ตัดความตระหนี่และความโลภในใจของเรา ให้จิตของเราบริสุทธิ์ขึ้น

แล้วก็เปลี่ยนเป็นดวงบุญที่จะส่งผลต่อไปในอนาคต

ภาพประอบ : ความสุขในการเป็นผู้ให้ ดวงใจย่อมมีคุณภาพดี สดใส บริสุทธิ์ มีพลังแห่งความสุขเต็มเปี่ยม

เหมือนต้นกล้าที่เราปลูกขึ้น ก็จะเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต”

มีเนื้อเพลงแต่งโดย “ตะวันธรรม” ที่ว่า

Sharing is great

Sharing creates

the greatest love of all

การแบ่งปันคือความยิ่งใหญ่

การแบ่งปันสร้างสรรค์ ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

จะดีแค่ไหน หากวัฒนธรรมการให้การแบ่งปัน กลายเป็น new normal ของคนทั้งโลก

อาจช่วยผ่อนวิกฤตการจากหนักให้เป็นเบา

อาจนำมาซึ่งโอกาสให้โลกเกิดสันติสุขอย่างที่เราคาดไม่ถึงก็ได้

ที่มาภาพและเนื้อหา

คิดอย่างไรกับเรื่องนี้