ค่าความดันโลหิตเท่าไร ถึงจะเรียกว่าความดันปกติ

แชร์ให้เพื่อนเลย

ค่าความดันโลหิตเท่าไร ถึงจะเรียกว่าความดันปกติ
1. ความดันตัวบน 120 mmHg เป็นความดันช่วงหัวใจบีบ
2. ความดันตัวล่าง 80 mmHg เป็นความดันช่วงหัวใจคลายตัว
3. ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ 80 ครั้งต่อนาที
ค่าความต่างตัวบนกับตัวล่าง 120-80 =40 เป็นค่าที่บอกความยืดหยุ่นของหลอดเลือด
4. ค่า Total Cholesterol หารด้วยค่า HDL cholesterol เท่ากับหรือน้อยกว่า 4 (ข้อมูลทางวิชาการจากต่างประเทศ)

ค่าความดันเท่าไร ถึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง ที่ต้องเฝ้าระวัง
1. ความดันตัวบนเกิน 135 แสดงว่ามีความต้านทานเพิ่มขึ้นมากในหลอดเลือด
2. ความดันตัวล่างเกิน 90
3. อัตราการเต้นหัวใจเกิน 90 แสดงว่าหัวใจเริ่มทำงานหนักขี้น
4. หรือเมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึกว่าร่างกายมีผลกระทบแล้วคือ ปวดศรีษะต่อเนื่อง หรือ เจ็บหน้าอกจิ๊ดๆเป็นบางครั้ง เพราะเซลล์บางส่วนเริ่มขาดเลือดหล่อเลี้ยง เกิดภาวะอักเสบ

ค่าคอเลสเตอรอลที่ควรเฝ้าระวังและต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง
สัดส่วนค่า Total Cholesterol หารด้วยค่า Hdl cholesterol มีค่าเกิน 6
ค่า Total Cholesterol = LDL-c + HDL-c + VLDL
VLDL มีค่าเท่ากับ Triglyceride หารด้วย 5
หมายเหตุ LDL-c เกิดจาก VLDL ที่สลายไขมัน

ผลกระทบเมื่อความดันเลือดสูง หรือมีค่าคอเลสเตอรอลมีค่าสูง
LDL ในหลอดเลือดเกิดออกซิไดซ์ ทำให้เกิดพลั๊คในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดอักเสบเป็นเหตุให้มีการซ่อมแซมกระตุ้นให้มีการสร้างผนังหลอดเลือดที่หนาขึ้นทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน หรือเส้นเลือดตีบอย่างถาวร
โรคที่เป็น: โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไต

ปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไรเมื่อสัดส่วนคอเลสเตอรอลมีค่าสูง
ลดค่า Total Cholesterol โดยการลดค่า LDL-c
เพิ่มค่า Hdl cholesterol หรือไขมันดี เพราะมีหน้าที่จับไขมัน LDL จากเซลล์ทั่วร่างกายไปกำจัดที่ตับ

การลดค่า LDL-c โดยทานยา
นายแพทย์ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะมีผลกระทบต่อ ตับ ไต หัวใจ ในระยะยาว และไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ อวัยวะอื่นๆเริ่มเสื่อมเรื่อยๆ ต้องทานยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอาการที่มากขึ้น

การลดค่า LDL-c โดย
1. ทำได้โดยลดอาหารคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้ออาหาร
2. เพิ่มอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ในแต่ละมื้ออาหาร
3. ไม่ทานอาหารคาร์โบไฮเดรตในมื้อเย็น ซึ่งเป็นอาหารส่วนเกินสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะสะสมในรูปไขมัน
4. ลดการปรุงอาหารด้วยน้ำมันพืชที่มี โอเมกา 6 สูง เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม

การเพิ่มค่า HDL-c โดย
1. ออกกำลังกาย
2. ทานอาหารที่มี โอเมกา 3 เช่นเนื้อปลา, น้ำมันงาม่อนสกัดเย็น แต่มีโอกาสถูกทำลายด้วยความร้อน มีข้อสังเกตุว่าชาวญี่ปุ่นนิยมทานเนื้อปลาดิบ ดังนั้นการทานงาม้อนคั่วอาจไม่ได้ผลเนื่องจากโอเมกา 3 ถูกทำลายเกือบหมดแล้ว
3. LCAT เป็นสารตั้งต้นของ HDL-c (ข้อมูลทางวิชาการจากต่างประเทศ)
เพิ่ม LCAT อย่างรวดเร็วในร่างกายโดย โอเมก้า 3 ในน้ำมันงาม่อนสกัดเย็นกับ C14 ในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น โดยผสมน้ำมันทั้งสองในสัดส่วนเท่ากันอย่างละ 1 ช้อนชาโดยประมาณ ทานทุกวัน น่าจะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด และเป็นการเพิ่ม LCAT ที่เร็วที่สุด ตรวจเช็คผลการวัดความดันทุกวัน (ข้อมูลจากผู้ผลิตน้ำมันสี่สหาย บรรจุขายในรูปแคปซูล)
4. HDL-c มีองค์ประกอบเป็นโปรตีน 50 percent (ข้อมูลจากเอกสารประกอบการสอนเรื่อง เมแทบอลิซึมของไลโปโปรตีน)
การเพิ่มค่า HDL-c จึงควรเพิ่มอาหารที่มีโปรตีนมาก โดยหมุนเวียนทานให้ครบทั้งจากพืชและสัตว์ในอาหารเช่น ไข่ขาว, ข้าวโอ๊ต, อกไก่, คอตเทจชีส, ปลาทูน่า, ถั่ว และบล๊อกโคลี เป็นต้น

คุณสมบัติโดยทั่วไปของไลโปโปรตีนแตละชนิด (Chylomicron, VLDL, LDL and HDL)
เป็นข้อมูลจาก เอกสารประกอบการสอนเรื่อง เมแทบอลิซึมของไลโปโปรตีน
ดร.นพ. ภัทรบุตร มาศรัตน ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล
https://bit.ly/2MyZbf5

ข้อสังเกตุ
HDL-c สร้างขึ้นที่ตับ มีขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูง เคลื่อนที่ได้ง่าย ทำหน้าที่ ขนส่ง LDL-c จากเซลล์ในร่างกายกลับเข้าสู่ตับ
HDL-c มีคำกล่าวที่ว่าถ้ามีค่าเกิน 60 จะไม่เป็นโรคอะไรเลย เพราะค่า Total Cholesterol มักจะไม่เกิน 300
HDL-c ยิ่งมาก ยิ่งลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ข้อควรปฎิบัติเพิ่มเติม เป็นคำแนะนำของครูบาอาจารย์
1. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
2. ดื่มน้ำบ่อยๆ
3. ทานอาหารเป็นเวลา อย่างมีวินัย
4. ไม่นำเอาสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์เข้าสู่ร่างกาย เช่น บุหรี่ อัลกอฮอล์ เป็นต้น
5. หายใจลึกๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจน ในการนำไปฟอกเลือดที่ปอด

 

บทความนี้เขียนในรูปแบบวิศวกรเขียน จึงมีแต่ข้อมูล ไม่มีพรรณาบรรยายมาก

คิดอย่างไรกับเรื่องนี้