การเดินทางของพระพุทธศาสนาผ่านพุทธเจดีย์ ตอนที่ ๑

แชร์ให้เพื่อนเลย

พระสถูปเจดีย์ทรงบาตรคว่ำโดยดำริของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่งจะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ทรงลุกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลานั้น คฤหัสถ์สองท่าน (ตปุสสะกับภัลลิกะ) ได้แลเห็นพระรัศมีแผ่พุทธานุภาพของพระองค์ จึงได้น้อมถวายสัตตุก้อนสัตตุผงเจือน้ำผึ้ง พระตถาคตจึงประทานพระเกศา (ผม) และพระนขา (เล็บ) ที่ตัดแล้ว อุบาสกจึงทูลถามวิธีสักการะบูชา พระตถาคตเจ้าจึงนำผ้าครองมาพับซ้อนกันสามชั้น วางทับด้วยบาตรคว่ำ เมื่อเดินทางกลับเมืองของตนแล้ว จึงสร้างสถานที่เคารพขึ้นตามรูปแบบที่ทรงตรัสแนะนำ พระสถูปองค์แรกสุดในพุทธศาสนาของพระศากยมุนีจึงได้บังเกิดขึ้น ซึ่งก็คือ เจดีย์ชเวดากอง อยู่ที่ประเทศพม่า จุดประสงค์เพื่อรำลึกถึงพระพุทธองค์ เป็นรูปทรงบาตรคว่ำ หรือ ทรงมูลดิน เห็นได้ว่า การสร้างเจดีย์เป็นพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ทุกคนได้สักการะรำลึกถึงพระองค์ท่าน

อ้างอิงจากบันทึกของพระถังซำจั๋ง, ศิลาจารึกเจดีย์ชเวดากอง และความเห็นนักเจดีย์วิทยา เกษมสุข ภมรสถิตย์

รูปแบบเจดีย์ทรงมูลดินหรือทรงบาตรคว่ำที่พระพุทธเจ้าดำริให้ใช้เป็นแบบในการสร้าง เพื่อระลึกถึงพระองค์

พระสถูปเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ

พระอรหันต์อุปคุปต์เป็นผู้นำพระเจ้าอโศก มากราบพระสถูปเจดีย์ทั้ง ๓ คือ พระปฐมเจดีย์ เจดีย์ชเวดากอง และพระธาตุศรีจอมทอง เป็นสิ่งยืนยันว่าเจดีย์ทั้ง ๓ เป็นเจดีย์ที่เกิดขึ้นก่อนยุคสมัยพระเจ้าอโศก เป็นเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ จึงเป็นเจดีย์ที่รำลึกถึงพระพุทธองค์ จากรูปเขียนฝาผนังที่พระปฐมเจดีย์ แสดงให้เห็นว่า เจดีย์องค์ดั้งเดิมเป็นเจดีย์ทรงมูลดิน (ทรงบาตรคว่ำ) ที่เห็นเป็นยอดสูงคือการสร้างครอบและต่อยอดให้สูงขึ้นไปโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ต่างๆ

เจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า องค์ปัจจุบัน

 

ภาพจิตรกรรมฝาผนังอธิบายประวัติพระปฐมเจดีย์ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร

 

ภาพปัจจุบันของปฐมเจดีย์

 

ภาพปัจจุบันของเจดีย์พระธาตุศรีจอมทอง(จ.เชียงใหม่)

พระสถูปเจดีย์ทรงกลมเพื่อรำลึกถึงการเข้าถึงธรรม

หลังจากที่พระเจ้าอโศกเข้าถึงธรรมกาย (ปรากฎในหนังสืออโศกวัฒนะ หรือ the Legend of King Asoka) ทรงสร้างสถูปสาญจี (Sanchi) เป็นเจดีย์ทรงโดม (ไม่ใช่ทรงบาตรคว่ำหรือทรงมูลดิน) ลักษณะรูปครึ่งวงกลม เพื่อระลึกถึงการปฏิบัติธรรม ฐานเจดีย์ทั้ง ๓ ชั้น(เพื่อสอดคล้องว่ามีผ้าครอง ๓ ผืนในยุคแรก) แทนด้วย พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เช่นเดียวกับเจดีย์ที่พระพุทธองค์ทรงดำริ โดยสังฆรัตนะอยู่ชั้นล่าง ธรรมรัตนะอยู่ชั้นกลาง พุทธรัตนะอยู่ชั้นบน  มองเห็นเป็นยอดโดมอยู่ตรงกลาง ซึ่งถ่ายทอดจากดวงธรรมซึ่งเป็นสภาวะธรรมภายในของการเข้าถึงธรรม มีปรากฎในคัมภร์โบราณเรียกว่า ตถาคตครรภะ แปลว่า สภาวะธรรมของพระพุทธองค์ที่อยู่ในท้อง 

ภาพสถูปสาญจี

พระสถูปเจดีย์รูปทรงโดม

พระเจดีย์ Fayaz tepe เจดีย์รูปทรงโดม(คล้ายสาญจี) บนเส้นทางสายไหม เมืองเทอร์เมซ อุซเบกิสถาน พ.ศ. ๕๔๔

Fayaz tepe เจดีย์รูปทรงโดม(คล้ายสาญจี

พระเจดีย์ Dhamma chakra stupa เจดีย์ทรงโดมในอินเดีย

พระเจดีย์ เกสริยา เจดีย์ทรงโดม สร้างเมื่อ พ.ศ.๖๐๐ อยู่ในเส้นทางระหว่างปากีสถานกับอัฟกานิสถาน สถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสถานที่บรรจุบาตร มีผู้สันนิฐานว่าเป็นต้นแบบของเจดีย์ชเวดากองและบุโรพุทโธ

พระเจดีย์ Kanishka stupa เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกุษาณะ(ช่วงสมัยพระเจ้ากนิษกะหรืออโศกมหาราชองค์ที่๒) พ.ศ. ๖๒๑-๖๔๔ บันทึกของพระถังซำจั๋งได้กล่าวไว้ว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระมหาสถูปที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธองค์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ชาววัชชีเมืองเวสาลีที่ตามมาส่งเสด็จพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน

พระเจดีย์ Amlok Darra Stupa
เจดีย์ทรงโดม แห่งเมือง Swat valley คือเส้นทางที่ต่อเชื่อมระหว่างอินเดียกับดินแดนคันธาระ แคสเมียร์ เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เป็นประตูสู่เส้นทางสายไหม สู่ประเทศจีน

 

พระเจดีย์ Dhamma chakra stupa เจดีย์ทรงโดม ในอินเดีย 

 

พระเจดีย์เกสริยา

 

ภาพพระเจดีย์เกสริยามุมสูง จากคลิปยูทูป

 

ซากปรักหักพังของ Kanishka Stupa สถานที่: Peshawar, Pakistan สมัยกุษาณะ พระเจ้ากนิษกะมหาราช อยู่ที่เมือง Peshawar, Pakistan 

 

Amluk Dara Stupa
ภาพ Amlok Dara Stupa เจดีย์ทรงโดม แห่งเมือง Swat valley

พระสถูปเจดีย์ ทรงยอดแหลม

ประเทศศรีลังกา : สถูปารามเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ปฐม เป็นเจดีย์ทรงกลม แต่ถูกปรับให้มียอดแหลมขึ้น คล้ายสถูปสาญจีแต่ต่อยอดขึ้นไปภายหลัง
อธิบายว่า
การต่อยอดนี้ยังเป็นทางมาของทฤษฎีเจดีย์ในปัจจุบัน คือต่อยอดขึ้นไปเพื่อเขียนส่วนโค้ง ถ้าหากเอาศูนย์กลางวงเวียนอยู่ที่ฐานล่างสุด กางขึ้นไปที่ยอด แล้วลากส่วนโค้ง ก็จะเป็นส่วนโค้งที่เรียกว่า invisible dome เพราะไม่สามารถที่จะสร้างเจดีย์ได้ใหญ่กว่านี้อีกแล้ว จึงสร้างเส้นตั้งฉากต่อขึ้นไปแทน
ทำให้ รุวันเวลิเซย่า, พระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเจดีย์อื่นๆที่ถูกสร้างครอบภายหลัง เป็นเจดีย์ทรงปัจจุบันที่ชาวโลกเข้าใจและคุ้นเคย

ภาพพระเจดีย์ถูปาราม เจดีย์องค์แรกแห่งศรีลังกา

 

ภาพพระเจดีย์ รุวันเวลิเซยา สร้างเมื่อ พ.ศ.๓๘๒-๔๐๖

พระมหาธรรมกายเจดีย์

พระมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย ประเทศไทย เจดีย์ทรงโดม ประดิษฐานพระพุทธเจ้า ๑ ล้านพระองค์

โดมพระมหาธรรมกายเจดีย์นั้นแทนตถาคตครรภะ ซึ่งแปลว่า ดวงธรรมของตถาคตที่อยู่ในท้อง เป็นดวงธรรมนี้มีอยู่ในตัวทุกคน ตั้งแต่คนธรรมดาไปจนถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า
บริเวณที่พระธรรมกายเรียงรายอยู่ คือส่วนที่เป็นพุทธรัตนะ
บริเวณที่เป็นพื้นเรียบถัดลงมาคือส่วนที่เป็นธรรมรัตนะ
บริเวณที่พระสงฆ์นั่งประกอบพิธีกรรมคือส่วนที่เป็นสังฆรัตนะ
เมื่อใดที่พระสงฆ์เข้าไปนั่งในส่วนที่เป็นสังฆรัตนะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นเจดีย์ที่ครบองค์แห่งพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
องค์พระที่เรียงรายเป็นลำดับขั้น ก่อให้เกิดเส้นโค้งที่มองไม่เห็น หรือ Invisible dome ซ้อนกันอย่างมากมายเป็นรูปโดมที่มองไม่เห็น องค์พระจำนวนมากมาย อยู่รวมกันเป็นชั้นๆ อยู่ต่อๆ ถัดๆ กันอย่างหนาแน่น สื่อความหมายว่า พระพุทธเจ้ามีเป็นอสงไขยพระองค์ นับพระองค์ไม่ถ้วน ในอายตนนิพาน

เจดีย์ยุคดั้งเดิม ที่เป็นเจดีย์พื้นฐานที่ถูกต้องที่สุดคือเจดีย์รูปทรงกลม (เกษมสุข ภมรสถิตย์)

องค์พระธรรมกายบนเจดีย์

 

ภาพจำลองการเขียนเส้นโค้ง : ขอบคุณภาพจากหนังสือมหาธรรมกายเจดีย์ โดย เกษมสุข ภมรสถิตย์

การบังเกิดขึ้นของพระมหาธรรมกายเจดีย์

หลวงพ่อธัมมชโยได้กล่าวถึงเป้าหมายของพระมหาธรรมกายเจดีย์ไว้ว่า
“โดมมหาธรรมกายเจดีย์ คือ ดวงธรรมที่โผล่พ้นออกมาครึ่งดวง (อีกครึ่งดวงอยู่ภายใน) เหมือนดวงตะวันพ้นขอบฟ้ามาครึ่งดวง ประดุจรุ่งอรุณแห่งสันติสุขของโลก”

“เรียนรู้วิชชาธรรมกายจนกระทั่งไปถึงผังสำเร็จที่ว่า ทำอย่างไรจะให้มวลมนุษยชาติรู้จักวิชชาธรรมกาย เข้าถึงธรรมกายกัน ก็ปรากฏออกมาว่า จะต้องไปชะลอธรรมกายเจดีย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นเจดีย์แห่งพระรัตนตรัย ให้มาบังเกิดขึ้นในโลกให้ได้ เมื่อมาเกิดขึ้นแล้ว ผู้มีบุญทั้งหลายที่กระจัดกระจายกันไปทั่วโลก ก็จะเกิดการตื่นตัวเกิดขึ้นมา เมื่อมีการรวมตัวของผู้มีบุญประพฤติธรรม เข้าถึงธรรมกายมาชุมนุมกัน ประพฤติธรรมรอบมหาธรรมกายเจดีย์

ภาพนี้ก็จะไปปรากฏต่อสายตาของชาวโลก เพราะเดี๋ยวนี้เครื่องมือสื่อสารนั้นทันสมัย ไม่มีอะไรเป็นความลับกันแล้ว ภาพนี้ก็จะไปปรากฏ เมื่อปรากฏเกิดขึ้น ก็จะเกิดคำถามขึ้นมาในใจ เมื่อเกิดคำถามขึ้นมาว่า เขามาประชุมกันทำไม มันมีอะไรที่สำคัญ แล้วเขาจะได้อะไรในการประชุมนั้น เมื่อคำถามเกิดขึ้นมาก็จะเกิดการแสวงหา เมื่อการแสวงหาเกิดขึ้นความรู้แจ้งก็จะเกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้นก็จะเป็นแรงผลักดันให้มวลมนุษยชาติประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย

เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ความไม่รู้จริงอันใดก็ดับไป ความรู้จริงที่แท้จริงก็จะบังเกิดขึ้น เมื่อบังเกิดขึ้นก็จะขยายกันต่อไป ให้ความรู้ที่แท้จริงที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเราและสรรพสิ่งทั้งหลายขยายตัวกันออกไปอีก ไปกันเรื่อยๆ จนกระทั่งทั่วถึงกันหมด แล้วตอนนั้นแหละ เราจะคิดเหมือนกัน พูดเหมือนกัน และก็ทำเหมือนกัน ประพฤติธรรมเหมือนกันมุ่งไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ตอนนั้นพญามารจะบังคับบัญชาไม่ได้”

จากประวัติศาสตร์การเดินทางของพุทธเจดีย์ทำให้ได้เรียนรู้ว่า เจดีย์ทรงกลมเป็นเจดีย์ทรงพื้นฐานที่สุดของพระพุทธศาสนา เมื่อมีพระมหาธรรมกายเจดีย์เกิดขึ้น จึงเสมือนเป็นการเชื่อมเอาความรู้และรูปทรงของพุทธเจดีย์ดั้งเดิมกลับมา เป็นเจดีย์ที่สมบูรณ์ เป็นเจดีย์แห่งพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ที่เราต้องช่วยกันรักษาและทำให้พระมหาธรรมกายเจดีย์เป็นเจดีย์ที่มีชีวิตต่อไปตราบอนันต์นิรันดร์กาล

อ่านบทความ คำถาม และ ตอบ เพิ่ม ที่เกี่ยวข้องกับพระมหาธรรมกายเจดีย์ ที่นี้ (โปรดรอติดตามบทความต่อไป)

ป้าใส : ศึกษาและทำงานด้านเจดีย์ กับ Dr. Adrian Snodgrass,University of Sydney นักเจดีย์วิทยาระดับโลก : ภาพจากคลิปคำบรรยาย เรื่องพระมหาธรรมกายเจดีย์ เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย ตอนที่ ๑ 

ที่มาภาพและเนื้อหา

 

คิดอย่างไรกับเรื่องนี้